การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน ของ คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก

ดูบทความหลักที่: การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน

ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 คณะตุลาการฯ ได้พิจารณาแปดคนที่ถูกกล่าวหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในการสังหารหมู่มุสลิมชีอะฮ์ 148 คนในดูเญล จำเลยมี

  • ซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก
  • บาร์แซน อิบราฮิม อัล-ตีกริติ น้องร่วมมารดาของซัดดัมและอดีตหัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง
  • ทาฮา ยาสซิน รามาดัน อดีตรองประธานาธิบดี
  • อะวัด ฮาเหม็ด อัล-บันดาร์ อัล-ซาดุน อดีตหัวหน้าผู้พิพากษา

ในการฟ้องกล่าวหาซัดดัม ฮุสเซนแต่แรก เขายังถูกกล่าวหาว่า

  • สังหารบุคคลในศาสนาใน ค.ศ. 1974
  • เหตุโจมตีแก๊สพิษฮาลับจา
  • สังหารชาวเคิร์ดใน ค.ศ. 1983
  • สังหารสมาชิกพรรคการเมือง
  • โยกย้ายถิ่นฐานชาวเคิร์ดในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980
  • ปราบปรามการลุกฮือของชาวเคิร์ดและชีอะฮ์ใน ค.ศ. 1991 และ
  • การรุกรานคูเวต

วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ซัดดัม ฮุสเซนถูกพบว่ามีความผิดจริงทุกข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ดูเญล และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาได้รับสิทธิอุทธรณ์อัตโนมัติ อย่างไรก็ดี การอุทธรณ์นั้นถูกปฏิเสธ และยืนโทษผิดจริงนั้น มีคำสั่งให้ประหารชีวิตเขาภายใน 30 วัน และเขาถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2006

ใกล้เคียง

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่